โรค มือ เท้า ปาก โรงเรียนมีมาตรการป้องกันอย่างไร ? by ekburapaPosted on 8 ตุลาคม 201919 พฤศจิกายน 2019Posted in ข่าวประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโรงเรียน โรคนี้มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก มีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต ในผู้ใหญ่พบได้บ้าง สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส การติดต่อ ติดต่อโดยการรับเชื้อจากอุจจาระ ฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือน้ำตุ่มพองหรือแผลของ ผู้ป่วยเข้าสู่ปาก การตอดต่อทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดได้น้อย การแพร่ติดต่อเกิดขึ้นค่อนข้างง่ายในช่วงสัปดาหืแรกของ การป่วย และแม้อาการทุเลาลงแล้ว ก็ยังอพร่เชื้อได้บ้าง เนื่องจากเชื้อจะถูกขับออกมากับอุจาระได้นานถึง 6 สัปดาห์ ระยะการฟักตัวของโรค : 3- 6 วันหลังได้รับเชื้อ อาการแสดง 1.มีไข้ 2-4 วัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (อาการคล้ายไข้หวัด ) 2.มีผื่นแดงอักเสบที่ลิ้น เหงือกและกระพุ้งแกม ต่อมาเกิดผื่นแดงที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย 3.ผื่นที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นตุ่มพองใส และแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ อาการแทรกซ้อนที่รุนแรง : เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจทำให้เสียชีวิตได้ การรักษา : 1.ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ 2.รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ข้อควรระวัง : ป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ การป้องกัน : 1. หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลี หรือใกล้ชิดผู้ป่วย 2. รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงเด็กดูเด็กเล็ก ควรล้างทำความสะอาดมือ บ่อย ๆ ก่อนหยิบจับอาหาร ให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด 3. ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม 4. เมื่อเช้ดน้ำมูก น้ำลายให้เด็กแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว 5. ผ้าอ้อมหรือผ้าที่เปื้อนอุจจาระต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็ว แล้วทิ้งลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6. ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน สถานที่มักพบการระบาดของโรค : สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล